ค้นหา
รู้กันไหม ? Virus อยู่ได้นานแค่ไหน ? อยู่ที่ไหนได้บ้าง ?


สวัสดีค่ะ หมอเชอร์รี่นะคะ ก่อนอ่านรายละเอียดในบทความที่หมอพยายามรวบรวมมานี้ หมอและทีม55th Clinic ขอขอบคุณ พร้อมส่งกำลังใจให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ที่กำลังปฏิบัติการดูแลเฝ้าระวังเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid-19 ) ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง และพวกเราคนไทยทุกคนร่วมกันผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันนะคะ

ขณะนี้องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศยกระดับโรคโควิด-19 จากโรคระบาด (Epidemic) เป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ของโลก (Pandemic) อย่างเป็นทางการ โดยตามความหมายของ WHO คำว่าPandemic คือ เชื้อโรคใหม่ที่ระบาดไปทั่วโลก ที่ทำให้อัตราการป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

สิ่งที่ตามมาคือการตื่นตัวของประชาชน และการรับรู้ข่าวสารอย่างต่อเนื่อง จนมีหลายท่านเมื่อได้พบหน้าเจอกัน ก็สอบถามเรื่องข้องใจเกี่ยวกับ Covid-19 หมอเองก็เข่นกันค่ะ .. เรื่องที่มีคำถามบ่อยสุดคือ

Q : คุณหมอคะ .. ถ้าเราต้องจับจ่ายใช้สอยและจับแบงค์( ธนบัตร ) เวลาซื้อของแต่ละวัน เราจะติดเชื้อ#CoronaVirus จริงไหมคะ?
A : หมอพยายามหาคำตอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 มาให้ทราบกัน ดังนี้ค่ะ

ขออ้างอิงจาก “ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ” เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดำรงอยู่ “ เชื้อไวรัส ” ที่มีโอกาสดำรงชีวิตอยู่บนพื้นผิวต่างๆ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก นพ.พิเชษฐ บัญญัติ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกันรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า
  • เชื้อไวรัสที่อยู่ในละอองฝอยน้ำมูก น้ำเสมหะ น้ำลาย และน้ำตา จะอยู่รอดในอากาศได้เพียง 5 นาที
  • เชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ในน้ำได้นาน 4 วัน
  • เชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่บนวัสดุ เช่น พื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู ได้นาน 7-8 ชั่วโมง
  • เชื้อไวรัสอยู่ในผ้าหรือกระดาษทิชชู่ได้นาน 8-12 ชั่วโมง
  • เชื้อไวรัสอยู่บนวัสดุพื้นเรียบได้นาน 24-48 ชั่วโมง
  • ในตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส เชื้อไวรัสอาจอยู่ได้นานถึง 1 เดือน

ทั้งนี้ประเมินจากลักษณะเชื้อไวรัสอื่นๆ ด้วย เช่น เชื้อไวรัสโรค SARS และโรค MERS ไม่ใช่เฉพาะไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 เท่านั้นค่ะ

โดยยังไม่มีผลตรวจว่า พบเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 บนธนบัตรแต่อย่างใด เช่นเดียวกับอ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักวิชาการ และอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเชื้อโคโรน่าไวรัสอยู่บนธนบัตรได้นาน 9 วัน บน Facebook ส่วนตัวว่าอาจจะไม่เป็นความจริง

“ ยังไม่มีคำตอบชัดเจนเลยว่า เชื้อตัวนี้จะอยู่บนธนบัตรได้นานแค่ไหน? มีเพียงแค่ข้อมูลจากเชื้อที่ใกล้เคียงกัน อย่างเชื้อไวรัสโรค SARS และโรค MERS ที่พบว่ามันอยู่บนพื้นผิวต่างๆ เช่น โลหะ แก้ว หรือพลาสติก ได้นานหลายวัน จนอาจจะถึง 9 วัน ในขณะที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่นั้น มีชีวิตอยู่บนพื้นผิวเพียงแค่ 48 ชั่วโมง

โดยผลการวิจัยของ ศ.กุนเทอร์ คัมป์ฟ จาก University Medicine Greifswald ประเทศเยอรมนี ที่เพจต่างๆ อ้างกันนั้น ก็ใช้ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ต่างๆ (แต่ไม่ได้มีเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019) สามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวสิ่งของต่างๆ เช่น โลหะ ไม้ กระดาษ แก้ว พลาสติก ได้นานมากที่สุดถึง 9 วันโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5 วัน ขึ้นกับว่าพื้นผิวนั้นมีอุณหภูมิและความชื้นเท่าไหร่ เช่น ถ้าอยู่ในอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็น และมีความชื้นสูง ไวรัสก็จะมีอายุยาวขึ้น

งานวิจัยยังบอกอีกว่า ถึงแม้ไวรัสโคโรน่าพวกนี้จะอยู่บนพื้นผิววัตถุได้นานเป็นสัปดาห์ แต่มันก็จะไม่มีฤทธิ์เดชอะไรถ้าอุณหภูมิเกิน 86 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 30 องศาเซลเซียส แถมมันยังสามารถกำจัดได้โดยง่าย ด้วยการใช้น้ำยาทำความสะอาดภายในบ้านเรือนทั่วๆ ไป เช่น ใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์ 62-71% หรือน้ำยาที่ผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5% หรือน้ำยาที่มีโซเดียมไฮโปคลอไรต์ 0.1% (คือพวกน้ำยาฟอกผ้าขาว) ก็สามารถจัดการเชื้อโคโรน่าไวรัสได้ในเวลาไม่กี่นาที ... ซึ่งทั้งหมดนี้ นักวิจัยคาดหวังว่า จะได้ผลเหมือนกันกับเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 ”


เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะรู้สึกว่ายาวหน่อยนะคะ แต่หมออยากให้ทุกท่านได้รับทราบข้อเท็จจริงที่มีแหล่งอ้างอิงจากนักวิชาการ จะได้เลือกประยุกต์และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สำหรับตัวเอง และดูแลคนรอบข้างได้ค่ะ 

รายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับ Covid-19 สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ bit.ly/2wy4VSJ (เป็นข้อมูลอ้างอิงจากWorld Health Organization Thailand รวบรวมไว้ค่ะ )

หมอหวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์ กับเพื่อนๆและคนใกล้ตัวทุกท่าน เริ่มวันนี้ช่วยกันดูแลซึ่งกันและกันได้โดยไม่ต้องรอใครนะคะ

รักและห่วงใยคนไทยทุกคนเสมอค่ะ heart

พญ.สุรัติ อัศวานุชิต ( หมอเชอร์รี่ )
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ป้องกัน ; ผู้ก่อตั้ง 55th Clinic

ติดต่อ 55Th Clinic , Silom Complex ชั้น3
BTS ศาลาแดง MRT สีลม
โทร. 02-2313394 , 092-2738067
www.55laser.com
Line OA : @55thclinic (http://line.me/ti/p/%4055thclinic)

ขอบคุณเครดิตบทความจาก กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค , นพ.พิเชษฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ , อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , World Health Organization Thailand และ ข้อมูลเพิ่มเติมจาก internet ไว้ ณ ที่นี้ค่ะ
แชทผ่าน Facebook
แชทผ่าน Line
โทรศัพท์